training

อบรม

media

ผลิตและบริการสื่อ

training

เช่าห้องประชุม

media

ความรู้ด้านการเกษตร

1. ประวัติสำนักส่งเสริมและฝึกอบรม

vittaya

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับการสถาปนาเมื่อปี พ.ศ. 2486 ทำหน้าที่ในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยหน้าที่การให้บริการทางวิชาการแก่สังคม เป็นภารกิจหนึ่งของมหาวิทยาลัยฯ ที่มีความสำคัญ ทั้งนี้ เพราะมหาวิทยาลัยฯ เป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญในการพัฒนาประเทศสมควรที่จะเผยแพร่ความรู้เหล่านั้นสู่ประชาชน สู่สังคม ให้เกิดประโยชน์ในการดำรงชีพ การเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชนได้ทำกันในหลายรูปแบบต่อเนื่องกันมาโดยตลอด แต่ก็ยังไม่มีหน่วยงานใดที่ทำหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2502 มหาวิทยาลัยฯ จึงได้เริ่มจัดตั้งหน่วยงานภายใน (สำนักส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร) ขึ้นมารับผิดชอบงานด้านนี้ จนกระทั่งวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2513 จึงมีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี จัดตั้งสำนักส่งเสริมและฝึกอบรม เป็นหน่วยงานเทียบเท่าคณะ เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยงานที่ให้บริการวิชาการแก่สังคม สำนัก-ส่งเสริมและฝึกอบรม ได้พัฒนากิจกรรมด้านการบริการวิชาการให้เจริญก้าวหน้ามาโดยตลอดเพื่อขยายงานด้านการบริการวิชาการแก่สังคมให้กว้างขวางขึ้นต่อไป

ในปี พ.ศ. 2520-2524 รัฐบาลไทยได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่นในการพัฒนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และได้ก่อตั้งหน่วยงานของสำนักส่งเสริมและฝึกอบรม ที่วิทยาเขตกำแพงแสน ให้ชื่อว่า ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ ตั้งอยู่บนพื้นที่ประมาณ 60 ไร่ ประกอบด้วย อาคารบริหาร อาคารสื่อการศึกษา อาคารโรงพิมพ์อาคารฝึกอบรม อาคารโรงอาหาร และอาคารหอพัก (จำนวน 4 หลัง) ที่สามารถให้บริการอย่างครบวงจรและเบ็ดเสร็จในตัวเอง ทำให้งานบริการวิชาการของสำนักส่งเสริมและฝึกอบรม และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นที่รู้จักแพร่หลายและเจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว ทั้งภายในและต่างประเทศ

ในปี พ.ศ. 2541 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มอบอาคาร 2 ชั้น (อาคารกำพลอดุลวิทย์) ให้สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม (วิทยาเขตบางเขน) อีกหนึ่งหลัง มีพื้นที่ทำการประมาณ 1,000 ตารางเมตร สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม ได้ปรับปรุงให้เป็นห้องสำหรับการฝึกอบรมวิชาชีพแก่ประชาชน จำนวน 9 ห้อง ทำให้แก้ปัญหาการขาดแคลนสถานที่ฝึกอบรมได้ระดับหนึ่ง และในปี พ.ศ.2551 สำนักส่งเสริมและฝึกอบรมได้ส่งมอบอาคารกำพล อดุลวิทย์ คืนให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตามบันทึกที่ ศธ.0513.13401/2427 ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2551

ในปี พ.ศ. 2542 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มอบพื้นที่ทำการให้กับสำนักส่งเสริมและฝึกอบรม เพิ่มเติม คือ อาคารวิทยบริการ (ชั้นที่ 4-7) มีพื้นที่ทำการทั้งสิ้น 6,122 ตารางเมตร ประกอบด้วย ห้องฝึกอบรม ขนาดความจุ 20-150 คน จำนวน 20 ห้อง และห้องประชุมขนาดความจุ 300 คน จำนวน 1 ห้อง ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องห้องฝึกอบรมได้พอสมควร และต่อมาในปี พ.ศ. 2549 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีคำสั่งที่ 3573/2549 ลงวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 มอบหมายให้สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบบริหารจัดการอาคารวิทยบริการ

ในปี พ.ศ. 2548 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีประกาศสภามหาวิทยาลัย-เกษตรศาสตร์ เรื่อง การจัดตั้งสำนักส่งเสริมและฝึกอบรม กำแพงแสน โดยสภามหาวิทยาลัย-เกษตรศาสตร์ ได้อนุมัติ ในการประชุมครั้งที่ 4/2548 เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2548 จัดตั้งให้ สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม กำแพงแสน เป็นหน่วยงานภายในที่มีสถานภาพเทียบเท่าคณะ ดังนั้น สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม กำแพงแสน จึงไม่อยู่ภายใต้การบริหารของสำนักส่งเสริมและฝึกอบรม

สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเผยแพร่วิชาความรู้สู่สังคมและประชาชน และทำหน้าที่รับผิดชอบภารกิจอันสำคัญนี้มาตลอดโดยได้พัฒนาปรับปรุงกระบวนการตลอดจนเทคนิควิธีการที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนมาโดยลำดับ จนได้รับประกาศเกียรติคุณ รางวัลหน่วยงานดีเด่นของชาติ สาขาการพัฒนาสังคม (ด้านการศึกษา) ประจำปี พุทธศักราช 2532 จากคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี และในปี พ.ศ. 2545 ได้รับ รางวัลกิตติคุณสัมพันธ์ “สังข์เงิน” จากสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย

จากการพัฒนางานของสำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มาอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2547 ได้มีการพิจารณาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาสำนักส่งเสริมฯมีการปรับโครงสร้างการบริหารงานภายในสำนักส่งเสริมฯ ให้สอดคล้องกับลักษณะงาน การขยายงานและสภาวการณ์ที่เปลี่ยนไปของสังคม โดยกำหนดโครงสร้างการบริหารงานจาก 6 ฝ่าย เป็น 8 ฝ่าย ในทั้ง 2 วิทยาเขต ซึ่งได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อฝ่ายให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เช่น ฝ่ายวิเคราะห์โครงการและหลักสูตรการฝึกอบรม ปรับเปลี่ยนเป็นฝ่ายวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการตั้งฝ่ายเพิ่มขึ้น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายการศึกษา และฝ่ายสื่อสารการตลาด และกำหนดให้ฝ่ายต่างๆ ทดลองปฏิบัติตามโครงสร้างใหม่ นี้เป็น เวลา 1 ปี เพื่อศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ก่อนที่จะนำเสนอสภามหาวิทยาลัยฯพิจารณาต่อไป

ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม ได้เสนอให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พิจารณายกฐานะศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติเป็น หน่วยงานใหม่ มีฐานะเทียบเท่าคณะ โดยมีการกำหนดโครงสร้างการบริหารงาน 8 ฝ่ายซึ่งมหาวิทยาลัยฯ ได้พิจารณาเห็นชอบและกำหนดชื่อเป็น “สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม กำแพงแสน” โดยได้รับอนุมัติจาก สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2548

หลังจากนั้น สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม ได้ทบทวนโครงสร้างองค์กรภายในใหม่อีกครั้ง โดยกำหนดให้มี 6 ฝ่าย และให้งานส่งเสริมเผยแพร่ แยกออกจากฝ่ายฝึกอบรม จัดตั้งเป็นฝ่ายส่งเสริมและเผยแพร่ โดยมีภารกิจครอบคลุมถึงการส่งเสริมการตลาด ดังผังโครงสร้างสำนักส่งเสริมและฝึกอบรม

ปลายปี พ.ศ. 2548 ได้มีการย้ายสถานที่ทำการบางฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายบริหารและธุรการทั่วไป และฝ่ายวิเคราะห์โครงการและหลักสูตรการฝึกอบรม จากอาคารเดิมมาอยู่ที่อาคารวิทยบริการ เพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการด้านอาคาร และเพื่อขยายพื้นที่ทำงานเดิม ให้แก่ฝ่ายพัฒนาสื่อการส่งเสริม และฝ่ายโรงพิมพ์
ปลายปี พ.ศ. 2552 ฝ่ายพัฒนาสื่อการส่งเสริม และฝ่ายโรงพิมพ์ ได้ย้ายสถานที่ทำงานจากอาคารเดิม (ตึก พนม สมิตานนท์) มาอยู่ที่ อาคารวิทยบริการ เพื่อสะดวกในการบริหารจัดการและการให้บริการวิชาการที่ครบวงจร ของสำนักส่งเสริมและฝึกอบรม

2. โครงสร้างองค์กร

organizational eto

สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มีการบริหารงานตามสายการบังคับบัญชาในลักษณะที่เป็นแนวดิ่ง และแนวราบประกอบกับโดยได้กำหนดมีการมอบหมายนโยบาย และตัวชี้วัด จากระดับผู้อำนวยการ สู่รองผู้อำนวยการ หัวหน้าฝ่าย และหัวหน้างาน ขณะเดียวกันผู้ปฏิบัติงานก็สามารถสะท้อนปัญหาอุปสรรค ตลอดจนข้อเสนอแนะกลับขึ้นไปสู่ผู้บังคับบัญชาตามลำดับได้โดยผ่านกระบวนการประชุมและการสื่อสารออนไลน์ เป็นต้น ขณะเดียวกันในการบริหารจัดการโครงการต่าง ๆ ผู้อำนวยการได้มอบนโยบายการทำงานรวมกันในลักษณะ Project Mode ซึ่งเป็นการบูรณาการการทำงานร่วมกันในระหว่างฝ่าย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน แบ่งการทำงานออกเป็น 6 ฝ่าย ดังนี้

  1. สำนักงานเลขานุการ มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการบริหารจัดการทรัพยากรของหน่วยงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิผลเกิดประสิทธิภาพ รวมทั้งการอำนวยการเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานตามภารกิจของหน่วยงานเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่หน่วยงานกำหนดไว้ อย่างถูกต้องภายใต้กฎระเบียบ ข้อบังคับ
  2. ฝ่ายพัฒนาสื่อการส่งเสริม มีหน้าที่รับผิดชอบผลิตและพัฒนาสื่อ บริการผลิตสื่อ  บริการวิชาการด้านสื่อ  เผยแพร่ความรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ ได้แก่  วีดิทัศน์  มัลติมีเดีย  ภาพนิ่ง  กราฟิก  วิทยุกระจายเสียงและอินเทอร์เน็ต  เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน  การฝึกอบรม  การส่งเสริมเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน   การประชุมสัมมนาและกิจกรรม พิธีการต่างๆ ของมหาวิทยาลัย
  3. ฝ่ายวิเคราะห์โครงการและหลักสูตรการฝึกอบรม มีหน้ารับผิดชอบในการจัดทำฐานข้อมูลเชิงวิชาการทีเกี่ยวข้องกับศาสตร์แห่งแผ่นดิน วิเคราะห์ สังเคราะห์องค์ความรู้ของมหาวิทยาลัย ให้ตรงกับความต้องการของผู้รับบริการ วิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม รูปแบบถ่ายทอดความรู้ กระบวนการเรียนรู้ ติดตามและประเมินผลการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
  4. ฝ่ายฝึกอบรม มีหน้าที่รับผิดชอบในการให้บริการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะให้กับประชาชนและบุคลากรภาครัฐและเอกชนให้มีความรู้ ความสามารถในการประกอบอาชีพได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งการบริการให้คำปรึกษาด้านการฝึกอบรม การวางแผนและพัฒนาการฝึกอบรมอย่างเป็นระบบให้กับองค์กรภาครัฐและเอกชน
  5. ฝ่ายโรงพิมพ์ มีหน้าที่รับผิดชอบ ผลิต และพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์ให้มีประสิทธิภาพทันสมัย เพื่อสนับสนุนงานด้านการเรียนการสอน และงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถ่ายทอดความรู้ ให้คำแนะนำ และปรึกษาด้านสื่อสิ่งพิมพ์
  6. ฝ่ายส่งเสริมและเผยแพร่ มีหน้าที่รับผิดชอบในการนำความรู้ นวัตกรรม รวมทั้งผลงานทางวิชาการผ่านกระบวนการการศึกษาความต้องการและการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมายเพื่อถ่ายทอดสู่ชุมชนและสังคมด้วยรูปแบบของการการศึกษานอกระบบ ทั้งการฝึกอบรม การสาธิต รวมทั้งการส่งเสริมความรู้และเผยแพร่ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ โดยมุ่งเน้นให้ชุมชนและสังคมเกิดความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

3. ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยม

  • วิสัยทัศน์

    “องค์กรผู้นำศาสตร์แผ่นดิน เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต"

  • พันธกิจ

    “ส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ในรูปแบบที่หลากหลาย สามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปใช้ได้จริง"

  • สมรรถนะหลัก
    1. การมุ่งเน้นความสำเร็จ
    2. ความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นผู้รับบริการ
    3. การเรียนรู้ระดับส่วนงานและความคล่องตัว
  • ค่านิยม
    • S - Social Responsibility
    • E - Engagement
    • R - Relationship
    • V - Voice
    • I - Integrity
    • C - Change management
    • E - Efficiency
  • วัฒนธรรมองค์กร ETO LIVE
    • E - Engagement to Excellence
    • T - Teamwork & Transparency
    • O - Outstanding & Openness

คณะกรรมการประจำสำนักส่งเสริมและฝึกอบรม

รศ.สุวิสา พัฒนเกียรติ
ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและฝึกอบรม
น.ส.ยุพวัลย์ ทองใบอ่อน
รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและพัฒนาองค์กร
นายวสันต์ ชุณห์วิจิตรา
รักษาการรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
ผศ.ดร.อรนัดดา ชินศรี
รองผู้อำนวยการฝ่ายวิเทศสัมพันธ์
จุฑามาศ รักชุม
รองผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมภาพลักษณ์และสื่อสารองค์กร
น.ส.วิมลวรรณ ไสยมรรคา
รักษาการหัวหน้าสำนักงานเลขานุการ
นายวรวีร์ รายา
หัวหน้าฝ่ายฝึกอบรม
น.ส.วารุณี ผลประเสริฐ
หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์โครงการฯ
และรักษาการแทนหัวหน้าฝ่ายส่งเสริมและเผยแพร่
นายวิเชียร คดพิมพ์
หัวหน้าฝ่ายพัฒนาสื่อการส่งเสริม
และรักษาการแทนหัวหน้าฝ่ายโรงพิมพ์

คณะกรรมการประจำสำนักส่งเสริมและฝึกอบรม

  1. ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและฝึกอบรม ประธานกรรมการ
  2. รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและพัฒนาองค์กร กรรมการ
  3. รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ กรรมการ
  4. รองศาสตราจารย์ ดร.บัญชา ชิณศรี กรรมการ
  5. รองศาสตราจารย์ ดร.วิจิตต์ศรี สงวนวงศ์ กรรมการ
  6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริยัน ธัญกิจจานุกิจ กรรมการ
  7. รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล รำไพ กรรมการ
  8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มณฑล ฐานุตตมวงศ์ กรรมการ
  9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาภรณ์ เลิศศิริ กรรมการ
  10. ดร.พิศมัย ศรีชาเยช (ผู้แทนสถาบัน) กรรมการ
  11. นางสาวสุพรรณี หงษ์ทอง (ผุ้แทนสำนัก) กรรมการ
  12. นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ (ผู้ทรงคุณวุฒิ) กรรมการ
  13. ผู้ช่วยศาสตราจารย์อนุพร สุวรรณวาจกกสิกิจ (ผู้ทรงคุณวุฒิ) กรรมการ
  14. ดร.ทรรศนะ บุญขวัญ (ผู้ทรงคุณวุฒิ)กรรมการ
  15. หัวหน้าสำนักงานเลขานุการ เลขานุการ
  16. นางเนตรดาว ดำรักษ์ ผู้ช่วยเลขานุการ

ที่ปรึกษาผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและฝึกอบรม

1. รศ.ดร.พนิต เข็มทอง ด้านการประเมินและติดตามผลโครงการ
2. ผศ.ดร.นุชนาถ มั่งคั่ง ด้านการเงิน
3. รศ.ชื่นจิตต์ แจ้งเจนกิจ ด้านการตลาด
4. ผศ.ดร.พรทิพย์ เย็นจะบก ด้านการประชาสัมพันธ์
5. ดร.อุบล ทองปัญญา ด้านการพัฒนาสื่อ
6. ดร.อัศวิน โชติพนัง ด้านการประสานงานภาครัฐ
7. วศ.ดร.ธนสาร ธรรมสอน ด้านนวัตกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาเจ้าหน้าที่ผู้พัฒนาเกษตรกร
8. รศ.ดร.ธนรัตน์ แต้วัฒนา ด้านการส่งเสริมสมรรถนะการวิจัย
9. นางชไมพร เอกทัศนาวรรณ ด้านการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลและการบริหารแผนเชิงรุก

ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ

1. รศ.ดร.อัศนีย์ ก่อตระกูล ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

บริการฝึกอบรม บริการฝึกอบรม

เกษตร

อาหาร

ศิลปะ

วิทยาศาสตร์

เบ็ดเตล็ด

พัฒนาบุคลากรภาครัฐและเอกชน

02 942 8822-9 ต่อ 200-206 ปิด
ความรู้ด้านการเกษตร ความรู้ด้านการเกษตร

ส่งเสริม

การนำความรู้ นวัตกรรม รวมทั้งผลงานทางวิชาการผ่านกระบวนการการศึกษาความต้องการและการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมายเพื่อถ่ายทอดสู่ชุมชนและสังคมด้วยรูปแบบของการการศึกษานอกระบบ...
ผลิตและบริการสื่อ ผลิตและบริการสื่อ

media

ผลิตและพัฒนาสื่อ บริการผลิตสื่อ บริการวิชาการด้านสื่อ เผยแพร่ความรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ ได้แก่ วีดิทัศน์ มัลติมีเดีย ภาพนิ่ง กราฟิก วิทยุกระจายเสียงและอินเทอร์เน็ต เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน การฝึกอบรม การส่งเสริมเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน การประชุมสัมมนาและกิจกรรม พิธีการต่างๆ ของมหาวิทยาลัย
02 942 8822-9 ต่อ 500 ปิด
ผลิตและบริการสื่อ บริการห้องประชุม อบรม สัมมนา

ภาพห้องประชุม

ศูนย์ประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Kasetsart University Convention Center KU.C.) เป็นศูนย์ประชุมที่มีความพร้อมสำหรับการประชุม อบรม สัมมนาโดยทั่วไปในระดับชาติ และระดับนานาชาติ มีห้องประชุมขนาดต่างๆ...
02 942 8832-3 ปิด

6. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงาน (MISETO)

KU MAIL

จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ มก.

HR

ระบบฐานข้อมูลบุคลากร

ETO KM

ระบบการจัดการความรู้

EOFFICE

ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์

KU.C.

ระบบบริหารจัดการศูนย์ประชุม มก.

ครุภัณฑ์ QR

ระบบฐานข้อมูลครุภัณฑ์ สฝ.

สถาปัตยกรรมองค์กร ETO
การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริการของสำนักส่งเสริมและฝึกอบรม
ภายใต้กรอบแนวความคิด “สถาปัตยกรรมองค์กร”

popup
ปิดหน้านี้